การออกแบบบ้านเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ต้องมีสถาปนิกและวิศวกรออกแบบ เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางโครงสร้างและการใช้งานทั้งภายในบ้านและพื้นที่โดยรอบให้ถูกกฎหมาย แต่เมื่อถึงคราวต้องสร้างบ้าน

เรามักไม่สามารถอธิบายสิ่งที่ตัวเองต้องการให้สถาปนิกเข้าใจ หรือเมื่อเห็นผังพื้น (Plan) ก็นึกไม่ออกว่าเมื่อสร้างเสร็จแล้วจะเป็นอย่างไร เราจึงทำคู่มือการออกแบบและวางแปลนบ้านด้วยตัวเองฉบับพื้นฐาน เพื่อทำความรู้จักระบบการออกแบบอย่างง่ายที่จะช่วยให้เจ้าของบ้านเข้าใจระบบของสถาปนิกมากขึ้น หรือเพื่อวางแปลนบ้านเองแล้วส่งต่อสถาปนิกให้ออกแบบบ้านได้อย่างที่ต้องการ หรือถ้าใครจะปรับเปลี่ยนบ้านโดยไม่กระทบโครงสร้าง ก็สามารถวาดแปลนแล้วให้ช่างมาทำเองก็ได้เช่นกัน

1.การกำหนดเฟอร์นิเจอร์

หลายคนถามว่าจะมีวิธีกำหนดจำนวนและขนาดเฟอร์นิเจอร์อย่างไร คำตอบคือให้ดูผู้ใช้งานและพื้นที่เป็นเกณฑ์ ได้แก่ ผู้ใช้งานคือใคร เด็ก ผู้สูงอายุ หรือวัยทำงาน จำนวนเท่าไร ทำกิจกรรมอะไรบ้างและช่วงเวลาในการใช้พื้นที่ ซึ่งเป็นคำถามที่เราต้องตอบเองและวางแผนเผื่ออนาคต ถ้ายิ่งมีความชัดเจนก็จะกำหนดเฟอร์นิเจอร์และพื้นที่ได้ง่ายและประหยัดงบประมาณเพราะไม่ต้องเผื่อมากเกินจำเป็น

2. ขนาดของเฟอร์นิเจอร์ (Furniture Scale)

ก่อนวางแปลนควรทราบขนาดเฟอร์นิเจอร์ชิ้นหลักที่จะวางในห้อง เพื่อออกแบบการจัดวาง การเว้นช่องทางเดิน ก็จะรู้ขนาดห้อง หรือในทางกลับกัน ถ้ามีขนาดห้องแล้วก็จะได้กำหนดขนาดเฟอร์นิเจอร์ให้เข้ากับห้องได้พอดี ยกตัวอย่างขนาดเฟอร์นิเจอร์เช่น

- โซฟา 3 ที่นั่ง ขนาด 2.00 x 0.80 m

- อาร์มแชร์และสตูลวางเท้า ขนาด 0.75 x 1.27 m

- โต๊ะสี่เหลี่ยมผืนผ้า 4 ที่นั่ง ขนาด 2.17 x 1.50 m

- เตียง King Size Bed ขนาด 2.00 x 2.10 m

- ตู้เสื้อผ้า ขนาด 1.50 x 0.60 ,1.20 x 0.60 m

 

3. กำหนดฟังก์ชั่นการใช้งาน 

การวางแปลนบ้านไม่มีแบบสำเร็จรูป ต้องมีการปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการของแต่ละคน จำนวนคน ลักษณะที่ดินและการสร้างสรรค์ เรามาดูวิธีการกำหนดฟังก์ชันในบ้านและการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ในแต่ละห้องกัน

การกำหนดฟังก์ชัน

วิธีกำหนดฟังก์ชันง่ายๆ คือการสร้างไดอะแกรม (Diagram) เป็นวิธีการเดียวกับการเขียนมายแมพ (Mind Map) คือเขียนฟังก์ชันที่ต้องการ แล้วลากเส้นโยงความสัมพันธ์ของแต่ละฟังก์ชัน เมื่อวาดแปลนบ้านจริง เส้นโยงเหล่านั้นก็จะกลายเป็นประตูหรือทางเดินที่เชื่อมถึงกัน วงกลมแต่ละวงอาจทำเป็นห้องหรือเป็นแค่พื้นที่ซึ่งรวมกันเป็นห้องโถงใหญ่แทนก็ได้ โดยฟังก์ชันจะแบ่งเป็น 3 โซนตามลำดับการเข้าถึง คือ สาธารณะ (Public Zone) กึ่งสาธารณะ (Semi-public Zone) และส่วนตัว (Private Zone)

บ้านขนาดเล็ก-กลาง นิยมให้ห้องรับแขกหรือห้องนั่งเล่นเป็นห้องแรก แล้วกระจายไปยังห้องต่างๆ บ้านที่มีขนาดใหญ่ หลายห้องหรือมีฟังก์หลากหลาย นิยมทำห้องโถงทางเข้าเป็นห้องแรกเพื่อกระจายไปยังส่วนต่างๆ ได้สะดวก และไม่รบกวนกันและกัน

a) จากที่จอดรถจะเข้ามาบริเวณทางเดินที่เชื่อมระหว่างห้องรับประทานอาหารกับห้องครัว

b) การโยง 3 ห้องเชื่อมกันแบบนี้แปลว่า ห้องน้ำนี้สามารถเข้าได้จากห้องรับประทานอาหารและห้องรับแขก

c) จากห้องรับแขกเชื่อมไปยังห้องนอนซึ่งเป็นโซนส่วนตัว

d) ห้องนอน ห้องแต่งตัวและห้องน้ำเชื่อมถึงกันได้

 

4. การกำหนดทางเดิน

ประตู บันได ช่องทางเดินจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการเดินและการใช้งานในห้อง จึงควรกำหนดทางเดินให้สัมพันธ์กับการใช้งาน เช่น

1.ทำประตูหรือทางเดินชิดด้านใดด้านหนึ่ง จะได้พื้นที่ใช้งานเต็มพื้นที่อีกด้านหนึ่ง

2.ทำประตูบริเวณกลางห้อง จะเกิดทางเดินแบ่งพื้นที่ใช้งานเป็น 2 ส่วน

3.ทำประตูเยื้องกัน จะเกิดทางเดินทแยงแบ่งพื้นที่ใช้งานเป็น 2 ส่วน

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลและความรู้ดีๆจาก : http://www.baanlaesuan.com

fb_1 Wednesday 03 April 2019 / 3339 views